การเขียนบันทึก

การเขียนบันทึก การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรุ้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ วัน เวลาที่จดบันทึก ประเภทของการเขียนบันทึก มี 2 ประเภท 1. การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยายความรู้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็น 2.การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทาง เพื่อเตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้สึก สิ่งที่ต้องมีในการบันทึกเหตุการณ์ 1. วัน เดือน ปี ที่บันทึก 2. แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห็น 3.บันทึกเรื่อง โดยสรุปย่อสาระด้วยสำนวนภาษาของตน ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก 1.ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง 2. บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ 3.บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไรทำไม 4. ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว วิธีการเขียนบันทึก 1. ลำดับความให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่วกวน 2. ลำดับเหตุการณ์ เช่น เวลา ๑๑.oo น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะฉันกำลังดูหนังสือ เวลา ๑๑.๓o น. เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะโกนถามและบอกให้ลดเสียง 3. กาเชื่อมโยง การเน้นใจความสำคัญ การเขียนบันทึกความรู้ การเขียนบันทึกความรู้ เป็นการเขียนบันทึกเรื่องราวจากการอ่านหนังสือ หรือจากการดูหรือฟังสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความรู้ที่ควรจำ เพื่อเปฺ็นการเตือนความจำหรือใช้อ้างอิงในวันข้างหน้า ๑. หัวข้อที่ความเขียนบันทึกความรู้ ๑.๑ ชื่อเรื่อง ๑.๒ เนื้อหาที่ได้จากการค้นคว้า ๑.๓ ชื่อผู้รายงาน ๑.๔หนังสือที่นำมาค้นคว้า โดยระบุชื่อหนังสือ ผู้แต่ง โรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์ วิธีการเขียนบันทึกความรู้ 1. อ่าน ฟัง หรือดูเรื่องให้เข้าใจ 2. ตั้งคำถามและตอบให้ได้ว่า อ่าน ฟัง หรือดูเรื่องอะไร เรื่องนั้นเป็นอย่างไร และมีการลำดับเรื่องราวอย่างไร 3. นำคำตอบมาเรียบเรียง แล้วเขียนจดบันทึกเป็นเรื่องราว ประโยชน์ของการเขียนบันทึกความรู้ 1. ช่วยเหลือความจำหรือทบทวนความรู้ 2.ให้ความรู้แก่ผู้อ่านหรือผู้ที่พบเห็น 3.นำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงหรือข้อมูลหลักฐานได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการเขียนและการเขียนโครงเรื่อง