บทความ

การเขียนบันทึก

การเขียนบันทึก การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรุ้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ วัน เวลาที่จดบันทึก ประเภทของการเขียนบันทึก มี 2 ประเภท 1. การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยายความรู้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็น 2.การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทาง เพื่อเตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้สึก สิ่งที่ต้องมีในการบันทึกเหตุการณ์ 1. วัน เดือน ปี ที่บันทึก 2. แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห็น 3.บันทึกเรื่อง โดยสรุปย่อสาระด้วยสำนวนภาษาของตน ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก 1.ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง 2. บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ 3.บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไรทำไม 4. ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว วิธีการเขียนบันทึก 1. ลำดับความให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่วกวน 2. ลำดับเหตุการณ์ เช่น เวลา ๑๑.oo น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะฉัน...

หลักการเขียนและการเขียนโครงเรื่อง

หลักการเขียนและการเขียนโครงเรื่อง การเขียน คือ การถ่ายทอดเสียง สำเนียงต่างๆ ที่เป็นภาษาพูดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการถ่ายทอดความรู้สึก ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ใช้อักษรและเครื่ิองหมายต่างๆเป็นสัญลักษณ์ ความสำคัญของการเขียน เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่่อสาร เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดวัฒนธรรมบอกถึงความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรม จุดประสงค์ 1. การเขียนเพื่อถ่ายทอดความรู้ 2.การเขียนเพื่ออธิบาย 3.การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ 4.การเขียนเพื่อสร้างจินตนาการ รูปแบบการเขียน การเขียนทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. การเขียนร้อยแก้ว 2.การเขียนร้อยกรอง ลักษณะการเขียนที่ดี เนื้อหาตรงจุดประสงค์การเขียนของผู้เขียน มีข้อเท็จจริง มีเหตุผล น่าสนใจ เชื่อถือได้และบอกแหล่งที่มาของข้อมูลได้ สำนวนภาษาต้องชัดเจน กะทัดรัด ไม่วกวน ขั้นตอนการเขียน 1. กำหนดจุดประสงค์ ( เขียนอะไร เขียนเพื่ออะไรและเขียนใหเใครอ่าน) 2. เลือกเรื่อง / หัวข้อที่เขียน 3. กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการเขียน 4. เขียนโครงเรื่อ...